|
|||
หากธุรกิจถึงทางตัน ไม่สามารถดำเนินกิจการต่อไปได้ ไม่ว่าจะด้วยความต้องการของผู้ถือหุ้น เลิกโดยผลของกฎหมาย หรือเลิกโดยคำสั่งศาล แต่หากเลิกกิจการด้วยความต้องการของผู้ถือหุ้น ไม่ว่าจะด้วยสาเหตุใดๆ ก็ตาม สิ่งสำคัญอันดับแรกที่ควรทำก็คือ การเคลียร์ภาระทางการเงินต่างๆ เช่น ยอดค้างชำระของลูกหนี้ หรือหนี้สิน พร้อมทั้งตรวจสอบสินค้าคงเหลือหรือทรัพย์สินต่างๆ โดยผู้ถือหุ้นจะต้องประชุมและลงมติว่า ต้องการเลิกบริษัท และหากมีเจ้าหนี้หรือลูกหนี้ก็ต้องตกลงกันเรื่องการชำระหนี้และได้รับความยินยอมให้เลิกกิจการได้ เมื่อตกลงเลิกกิจการ ก็ดำเนินการตามขั้นตอน ดังต่อไปนี้ 1. การจดทะเบียนเลิกบริษัท 1.1. ส่งจดหมายลงทะเบียนหรือลงประกาศหนังสือพิมพ์ท้องถิ่น เพื่อเรียกประชุมผู้ถือหุ้นและกำหนดวันเวลาว่า จะประชุมเมื่อใด 1.2. ทำการประชุมเพื่อตกลงว่า ต้องการเลิกบริษัท ,แต่งตั้งผู้ชำระบัญชี,ผู้สอบบัญชี, ผู้ถือหุ้นลงลายมือชื่อในคำขอเลิกบริษัท 1.3. ดำเนินการจดเลิกบริษัทกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า 1.4. ลงประกาศหนังสือพิมพ์ แจ้งว่า บริษัทได้เลิกแล้ว มีใครคัดค้านหรือไม่ 1.5. ถ้าบริษัทจดเข้าระบบภาษีมูลเพิ่ม ให้ยื่นเอกสาร ภพ.09 และเอกสารอื่นๆที่ใช้ในการจดทะเบียนเลิกระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม ภายใน 15 วัน นับตั้งแต่วันที่จดทะเบียนเลิก 1.6. จัดทำงบดุล งบกำไรขาดทุน ต่างๆ ยื่นสรรพากร 2. การจดทะเบียนเสร็จการชำระบัญชี 2.1. ลงประกาศหนังสือพิมพ์ ว่า บริษัทขอเรียกประชุมผู้ถือหุ้น ผู้ชำระบัญชีต่างๆ เรื่องเสร็จการชำระบัญชี 2.2. เมื่อประชุมแล้ว ผู้ชำระบัญชี ก็ไปจดทะเบียนเสร็จชำระบัญชี จาก 2 ขั้นตอนที่กล่าวมาเป็นเพียงขั้นตอนหลักในการจดเลิกบริษัท บางบริษัทอาจยังมีขั้นตอนที่แยกย่อยมากกว่านี้ หากเจ้าของกิจการไม่สะดวกหรือยังไม่เข้าใจรายละเอียดก็สามารถจ้างผู้เชี่ยวชาญดำเนินการให้ได้เช่นกัน
แนะนำบทความที่เกี่ยวข้อง
โดยทีมงาน AMTaudit & AMTsolution |
|||