|
|||
ความสำคัญของการสอบบัญชี
การสอบบัญชี (Audit) คือ การตรวจสอบสมุดบัญชีของธุรกิจนั้นๆ ตลอดจนเอกสารประกอบการลงบัญชี รวมทั้งหลักฐานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการลงบัญชีว่าได้ปฏิบัติตามหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไปอย่างถูกต้องหรือไม่
ผู้สอบบัญชี (Auditor หรือ Public Accountant) จะต้องเป็นผู้ขึ้นทะเบียนเป็น “ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต” (Certified Public Accountant) และให้บริการทางด้านการสอบบัญชี ได้แก่ให้คำแนะนำเกี่ยวกับการบัญชี การวางรูปบัญชี การให้คำปรึกษาเกี่ยวกับภาษีอากร ตลอดจนบริการด้านบริหารการเงินอื่นๆ ที่ให้บริการแก่ลูกค้าเฉพาะราย
งานส่วนใหญ่ของผู้สอบบัญชี คือ การสอบบัญชี ซึ่งจะต้องปฏิบัติให้ถูกต้องตามวิธีการตรวจสอบด้านต่างๆ การจัดทำรายงานการสอบบัญชี การให้ความเห็นต่องบการเงิน การเปิดเผยข้อมูลให้เพียงพอ ตลอดจนมีความรับผิดชอบต่อความถูกต้องของงบการเงิน
วัตถุประสงค์ของการสอบบัญชี
“การตรวจสอบงบการเงินมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้สอบบัญชีสามารถแสดงความเห็นต่องบการเงินว่างบการเงินนั้นได้จัดทำในส่วนสาระสำคัญเป็นไปตามแม่บทการบัญชีในการรายงานทางการเงินหรือไม่”
ดังนั้น วัตถุประสงค์ของการตรวจสอบงบการเงิน คือ การแสดงความเห็นว่างบการเงินนั้นได้แสดงฐานะการเงิน ผลการดำเนินงาน และกระแสเงินสดของกิจการโดยถูกต้องตามควรในสาระสำคัญตามหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไปหรือไม่
การสอบบัญชี การสอบบัญชี หมายถึง กระบวนการรวบรวม และการประเมินหลักฐานเกี่ยวกับสารสนเทศเพื่อระบุและรายงานเกี่ยวกับระดับความสอดคล้องต้องกันของสารสนเทศนั้นกับหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้และสื่อสารผลลัพธ์ให้ผู้ใช้ที่สนใจ
กระบวนการสอบบัญชี การสอบบัญชีเป็นกระบวนการของการรวบรวมและประเมินหลักฐานการสอบบัญชี เพื่อให้ผู้สอบบัญชีสามารถสรุปผลการตรวจสอบ และจัดทำรายงานการสอบบัญชีได้
กระบวนการสอบบัญชีแบ่งออกได้เป็น 3 ขั้นตอน
1. กระบวนการวางแผน 1.1 การพิจารณารับงานสอบบัญชี 1.2 การรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับธุรกิจที่ตรวจสอบ 1.3 การวิเคราะห์เปรียบเทียบในเบื้องต้น 1.4 การกำหนดระดับความมีสาระสำคัญ 1.5 การประเมินความเสี่ยงในการสอบบัญชีที่ยอมรับได้และความเสี่ยงสืบเนื่อง 1.6 การทำความเข้าใจระบบการควบคุมภายในและการประเมินความเสี่ยงจากการควบคุม 1.7 การพัฒนาแผนการสอบบัญชีโดยรวมและการจัดทำแนวการสอบบัญชี
2. การปฏิบัติงานตรวจสอบ ประกอบด้วย การทดสอบการควบคุมและการตรวจสอบเนื้อหาสาระ 2.1 วงจรรายได้ 2.2 วงจรรายจ่าย 2.3 วงจรการผลิต 2.4 วงจรการลงทุน 2.5 วงจรการจัดหาเงิน 2.6 การตรวจสอบที่สำคัญเพิ่มเติม
3. การเสร็จสิ้นการสอบบัญชีและการออกรายงานการสอบบัญชี 3.1 การประเมินผลจากหลักฐานการสอบบัญชี 3.2 การเสนอรายการปรับปรุงและรายการจัดประเภทบัญชี 3.3 การออกรายงานการสอบบัญชี
ประเภทของการตรวจสอบ
โดยผู้สอบบัญชีทำหน้าที่ตรวจสอบงบการเงินเพื่อแสดงความเห็นต่อความถูกต้องของงบการเงินนั้น โดยปฎิบัติตามหลักการพื้นฐาน ดังต่อไปนี้ - มรรยาทผู้สอบบัญชี - มาตรฐานการสอบบัญชีที่รับรองทั่วไป - การใช้วิจารณญาณในการสังเกต และสงสัยเยี่ยงผู้ประกอบวิชาชีพ
2. การตรวจสอบการดำเนินการ หมายถึง การสอบทานขั้นตอน วิธีการปฏิบัติงานและภาระหน้าที่ต่างๆในองค์กร เพื่อให้มั่นใจว่า ลำดับขั้นตอนในการปฎิบัติงานและภาระหน้าที่ในแต่ละหน่วยงานได้ดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ ตามขั้นตอนที่กำหนดไว้อย่างเหมาะสม ซึ่งจะส่งผลให้มีการใช้ทรัพยากรอย่างประหยัด และผลของงานนั้นได้บรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้
3. การตรวจสอบการปฎิบัติงานตามกฏระเบียบ หมายถึง การตรวจสอบเพื่อให้มั่นใจว่าการปฎิบัติงานขององค์กรเป็นไปตามกฏหมาย ระเบียบ ข้อบังคับของหน่วยงานกำกับดูแล และกฏระเบียบนโยบายขององค์กร
มาตรฐานการสอบบัญชีที่รับรองทั่วไป
แนวทางปฎิบัติต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยในปัจจุบัน สภาวิชาชีพได้จัดทำร่างมาตรฐานการสอบบัญชีเพื่อใช้แทนมาตรฐานการสอบบัญชีที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน |
|||