บริการด้านวางระบบ
และตรวจสอบภายใน

เริ่มต้น 5,000 บาท
รายละเอียดเพิ่มเติม...

image01

บริการด้าน
รับทำบัญชี – ยื่นภาษี

เริ่มต้น 1,500 บาท
รายละเอียดเพิ่มเติม...

image01

บริการด้าน
ตรวจสอบบัญชี

เริ่มต้น 4,500 บาท
รายละเอียดเพิ่มเติม...

image01

ผู้สอบบัญชีตามกฎหมาย

 
 

ลักษณะของผู้สอบบัญชี ตามที่กฎหมายกำหนด

            ผู้สอบบัญชี หมายความว่า ผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นผู้สอบบัญชี  พระราชบัญญัติวิชาชีพบัญชี พ.ศ. 2547 (เป็นกฎหมายใหม่ที่ประกาศใช้ทดแทนพระราชบัญญัติผู้สอบบัญชี พ.ศ. 2505 มีทั้งหมด 78 มาตรา จัดแบ่งเป็น 9 หมวดและบทเฉพาะกาล) โดยใบอนุญาตนั้นยังไม่ขาดอายุ ไม่ถูกพัก ไม่ถูกเพิกถอน ดังนั้น ผู้ที่ไม่ได้รับใบอนุญาตก็ดี หรือผู้ได้รับใบอนุญาตแล้วแต่ขาดต่ออายุใบอนุญาต ถูกพักใช้ใบอนุญาตหรือถูกเพิกถอนใบอนุญาตก็ดี ย่อมไม่เป็นผู้ที่ได้รับอนุญาตตามกฎหมาย หากลงลายมือชื่อรับรองการสอบบัญชีของธุรกิจใดที่กฎหมายบัญญัติให้มีการสอบบัญชีหรือให้สอบไปแล้วย่อมมีความผิด และอาจได้รับโทษตามกฎหมาย การขึ้นทะเบียนเป็นผู้สอบบัญชีรับอนุญาตนั้น ผู้จะขึ้นทะเบียนต้องมีพื้นความรู้และลักษณะครบถ้วน ตามที่กฎหมายกำหนดไว้ ดังนี้                                

1. เป็นผู้ได้รับปริญญาทางการบัญชี หรือประกาศนียบัตรทางการบัญชี ซึ่ง ก.บช.เทียบว่าไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีทางการบัญชี หรือเป็นผู้ได้รับปริญญาหรือประกาศนียบัตรไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีที่มีการศึกษา วิชาการบัญชี ซึ่ง ก.บช. เห็นสมควรให้เป็นผู้สอบบัญชี รับอนุญาต เรื่องพื้นฐานความรู้ของผู้ขอขึ้นทะเบียนเป็นผู้สอบบัญชีรับอนุญาตเช่น ผู้ได้รับปริญญาบัญชีบัณฑิต ประกาศนียบัตรชั้นสูงทางการบัญชี ผู้ได้รับ A.C.A. หรือ Bachelor of Business Administration (Major in Accounting) เหล่านี้ ก.บช.(คณะกรรมการควบคุมการประกอบวิชาชีพสอบบัญชี)  ได้พิจารณาแล้วว่าเป็นปริญญา และประกาศนียบัตรทางการบัญชี เทียบได้ว่าไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีทางการบัญชีแล้ว                                                          

2. เคยปฏิบัติงานเกี่ยวกับการสอบบัญชีมาแล้ว โดย ก.บช. เห็นว่าทำหน้าที่เป็นผู้สอบบัญชีรับอนุญาตได้เรื่องนี้ ก.บช. ได้พิจารณาและยึดถือเป็นหลักปฏิบัติว่า ผู้เคยปฏิบัติงานเกี่ยวกับการสอบบัญชีมาแล้วจากการหาผู้สอบบัญชี ซึ่ง ก.บช. เห็นว่าทำหน้าที่เป็นผู้สอบบัญชีรับอนุญาตได้นั้น ต้องมีการปฏิบัติงานเกี่ยวกับการสอบบัญชีกับผู้สอบบัญชีรับอนุญาตเป็นเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่าสามปีเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 3,000 ชั่วโมง การปฏิบัติงานเกี่ยวกับการสอบบัญชีดังกล่าวจะกระทำในระหว่างการศึกษาเพื่อรับปริญญาหรือประกาศนียบัตร หรือจะกระทำภายหลังได้รับปริญญาหรือประกาศนียบัตรก็ได้                                                             

3. มีอายุยี่สิบปีบริบูรณ์                                                                                                                                    

4. มีสัญชาติไทย หรือมีสัญชาติของประเทศที่ยินยอมให้บุคคลสัญชาติไทยเป็นผู้สอบบัญชีในประเทศนั้นได้                                   

5. ไม่เป็นผู้มีความประพฤติเสื่อมเสียหรือบกพร่องในศีลธรรมอันดี                                                               

6. ไม่เคยต้องโทษจำคุกในคดีที่ ก.บช. เห็นว่าอาจนำมาซึ่งความเสื่อมเสียเกียรติศักดิ์แห่งวิชาชีพ                

7. ไม่เป็นบุคคลวิกลจริต หรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ                                                                             

8. ไม่ประกอบอาชีพอย่างอื่นที่ไม่เหมาะสมหรือทำให้ขาดความเป็นอิสระในหน้าที่ผู้สอบบัญชี เรื่องการประกอบอาชีพอย่างอื่นที่ไม่เหมาะสมหรือทำให้ขาดความเป็นอิสระในหน้าที่ผู้สอบบัญชี การประกอบอาชีพใดจะถือว่าไม่เหมาะสมหรือทำให้ขาดความเป็นอิสระในหน้าที่ผู้สอบบัญชีขึ้นอยู่กับอาชีพ และข้อเท็จจริงแต่ละกรณี ก.บช. ยังไม่เคยปฏิเสธการรับขึ้น ทะเบียนเพราะเห็นว่าประกอบอาชีพไม่เหมาะสม หรือทำให้ขาดความเป็นอิสระในหน้าที่ผู้สอบบัญชี แม้ผู้ซึ่งรับราชการก็อาจขึ้นทะเบียนเป็นผู้สอบบัญชีรับอนุญาตได้ หน้าที่ของผู้สอบบัญชี มีสิทธิลงลายมือชื่อรับรองการสอบบัญชีในฐานะผู้สอบบัญชีของธุรกิจที่กฎหมายบัญญัติให้มีการสอบบัญชีหรือให้มีผู้สอบบัญชี และมีสิทธิลงลายมือชื่อรับรองเอกสารในกรณีที่มีกฎหมายบัญญัติให้มีผู้สอบบัญชีรับรองสำหรับสิทธิประการแรก ผู้ซึ่งมิได้เป็นผู้สอบบัญชีรับอนุญาตจะลงลายมือชื่อรับรองการสอบบัญชีในฐานะผู้สอบบัญชีไม่ ได้ ถ้าฝ่าฝืนก็มีความผิด แต่สำหรับสิทธิประการที่สอง มีผลแต่เพียงว่า เอกสารที่ทำขึ้นไม่มีผลตามกฎหมายนั้นๆ ถ้ามิได้รับรองโดยผู้สอบบัญชีรับอนุญาต ในส่วนที่เกี่ยวกับหน้าที่ผู้สอบบัญชีรับอนุญาตมีหน้าที่ คือ ต้องรักษามรรยาทตามที่กำหนดโดยกฎกระทรวงถ้าฝ่าฝืนอาจถูกสั่งพักหรือ เพิกถอนใบอนุญาต และในกรณีที่มีการย้ายสำนักงานหรือมีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงทางทะเบียนต้อง แจ้งต่อ นายทะเบียนภายในกำหนด 15 วัน นับตั้งแต่วันที่มีการเปลี่ยนแปลงความรับผิดชอบของผู้สอบบัญชี คือ เป็นความรับผิดต่อบุคคลที่สามอย่างลูกหนี้ร่วม ในกรณีที่ผู้สอบบัญชีต้องรับผิดชอบต่อบุคคลที่สาม กฎหมายได้กำหนดให้นิติบุคคลซึ่งผู้สอบบัญชีนั้นสังกัดอยู่ ร่วมรับผิดชอบด้วยอย่างลูกหนี้ร่วม ในกรณีที่ยังไม่สามารถชำระค่าเสียหายตามความรับผิดชอบนั้นได้ครบจำนวน หุ้นส่วนหรือกรรมการผู้มีอำนาจลงนามผูกพันนิติบุคคล หรือผู้แทนนิติบุคคลใด ซึ่งต้องรับผิดชอบในการดำเนินการของนิติบุคคลนั้น ต้องร่วมรับผิดจนครบจำนวน เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่า ตนมิได้มีส่วนรู้เห็นหรือยินยอมในการกระทำผิดที่ต้องรับ

จะเห็นได้ว่าวิชาชีพตรวจสอบบัญชีของผู้สอบบัญชีเป็นการปฏิบัติตามกฏหมายกำหนด ซึ่งครั้งหน้าเราจะมาพูดถึงบทบาทของผู้สอบบัญชีตามมาตรฐานการตรวจสอบบัญชีกันครับ

BY : AMTaudit

www.amtaudit.com