|
|||
ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต (Certified Public Accountant: CPA) เป็นหนึ่งในอาชีพที่มีผู้สนใจจำนวนมาก ซึ่งการจะก้าวไปเป็นผู้สอบบัญชีรับอนุญาตได้นั้น จะต้องผ่านทั้งเงื่อนไขการฝึกหัดงานตรวจสอบบัญชีและการทดสอบตามที่สภาวิชาชีพฯ กำหนด ดังนั้นการเตรียมตัวให้พร้อมและการวางแผนในทุกกระบวนการ รวมถึงการเลือกวิชาสอบ CPA ก่อนหลังให้เหมาะสมจึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้ผู้ที่เตรียมตัวสอบมีโอกาสที่จะสอบผ่านมากขึ้น การทดสอบของผู้ขอรับใบอนุญาตเป็นผู้สอบบัญชีนั้น โดยปกติแล้ว หลังจากที่ยื่นขอแจ้งการฝึกงานก็จะสามารถขอทดสอบได้เลย ไม่จำเป็นต้องเก็บชั่วโมงการฝึกหัดงานให้ครบก่อน ยกเว้นวิชาการสอบบัญชี1 การสอบบัญชี2 ที่จะต้องฝึกหัดงานเป็นเวลาไม่น้อยกว่าหนึ่งปีและเก็บชั่วโมงการฝึกหัดงานให้ได้ไม่น้อยกว่าหนึ่งพันชั่วโมง จึงจะสามารถขอเข้าทดสอบได้ (เนื่องจากทั้งวิชาสอบบัญชี 1 และ 2 ประสบการณ์การทำงานจะมีส่วนช่วยในการสอบได้มาก) โดยปกติแล้วการทดสอบจะจัดขึ้นอย่างน้อยปีละสองครั้ง ทั้งนี้ผู้รับการทดสอบจะสมัครสอบทุกวิชาหรือสมัครสอบบางวิชาก็ได้ และเกณฑ์การสอบผ่านคือต้องทำคะแนนในแต่ละวิชาไม่น้อยกว่าร้อยละหกสิบจึงจะถือว่าผ่าน โดยผู้รับการทดสอบจะสามารถสะสมผลการทดสอบของแต่ละวิชาที่สอบผ่านแล้ว ได้ไม่เกินสี่ปีนับจากวันที่ผ่านการทดสอบแต่ละวิชา การสอบ CPA นั้น สภาวิชาชีพบัญชีได้กำหนดวิชาที่จะต้องสอบไว้ทั้งหมด 6 วิชา ได้แก่ วิชาการบัญชี 1 วิชาการบัญชี 2 วิชาการสอบบัญชี 1 วิชาการสอบบัญชี 2 วิชากฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการประกอบวิชาชีพสอบบัญชี 1 และวิชากฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการประกอบวิชาชีพสอบบัญชี 2 ทั้งนี้ตั้งแต่การสอบครั้งที่ 28(2/2557) เป็นต้นมาได้มีการปรับปรุงขอบเขตเนื้อหาวิชาในการทดสอบ วิชาการบัญชี 1, วิชาการบัญชี 2 และวิชากฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการประกอบวิชาชีพสอบบัญชี 2 ดังนั้นผู้เข้ารับการทดสอบจึงควรใช้ความระมัดระวังในการฝึกทำข้อสอบเก่า!!!! โดยต้องศึกษาขอบเขตวิชาที่จะทดสอบให้ดีเพื่อเตรียมพร้อมก่อนอ่านหนังสือสอบ การเลือกวิชาสอบ CPA นั้นคนส่วนใหญ่จะแนะนำให้เลือกสอบวิชาที่ยากที่สุดหรือวิชาที่ไม่ถนัดที่สุดก่อน เพราะหากสอบไม่ผ่าน เราจะได้มีเวลาเหลือสำหรับการท่องแม่บท ข้อบังคับ และมาตรฐานของวิชานั้นให้แม่น เพื่อเตรียมสอบใหม่อีกครั้ง (สมัยผมเริ่มสอบเมื่อปี 2547 ผมเลือกลงวิชายากสุดก่อน สำหรับผมตอนนั้นคือวิชาคอมพิวเตอร์สำหรับการสอบบัญชี ซึ่งตอนนั้นคิดว่า พอสอบผ่านวิชายากสามารถเก็บไว้ได้ 3 ปี จึงเลือสอบวิชายากก่อนดีกว่า ซึ่งตอนนั้นสอบครั้งแรก ผ่านเลย และสอบครบ 5 วิชาภายในปี 2549) แต่ในขณะเดียวกันก็มีคนแนะนำว่าควรเลือกสอบวิชาที่ง่ายที่สุดก่อน เพราะหากสอบผ่านเลย ก็จะมีกำลังใจในการอ่านหนังสือสอบครั้งต่อไปยิ่งๆ ขึ้น (สมัยผมจะเลือกสอบวิชาง่ายในช่วงหน้างานที่มีเวลาอ่านหนังสือน้อยเพราะไม่ต้องเตรียมตัวเยอะและมีโอกาสสอบผ่านได้คือทุกครั้งที่ลงสอบผมจะคิดเสมอว่าต้องผ่านไม่เคยลงสอบเพื่อไปลองดูข้อสอบเลยสักครั้ง) ทั้งนี้วิชาที่ยากที่สุด และวิชาที่ง่ายที่สุดของแต่ละคนนั้นก็มีความแตกต่างกัน ดังนั้นให้ยึดความถนัดและความพร้อมของเวลาในการอ่านหนังสือของผู้สอบเองเป็นหลัก ไม่ควรเลือกวิชาสอบ CPA ตามเพื่อน แต่สำหรับผู้ที่เพิ่งจบ หรือกำลังเรียนเพิ่มเติมอยู่ อาจใช้เทคนิคในการเลือกวิชาสอบ CPA ที่มีเนื้อหา โครงสร้าง หรือขอบข่ายวิชาใกล้เคียงกับวิชาที่เรียนในช่วงนั้นๆ เพราะจะได้สามารถอ่านหนังสือเตรียมสอบ และเรียนรู้ทำความเข้าใจบทเรียนไปพร้อมๆ กัน ซึ่งจะช่วยประหยัดเวลา และทำให้มีความเข้าใจในเนื้อหาลึกซึ้งมากยิ่งขึ้น อย่างไรก็ตาม วิชาการสอบบัญชี1 และ 2 ต้องรู้เกี่ยวกับมาตรฐานการสอบบัญชีทั้งหมดจึงต้องรอสอบหลังจากผ่านการฝึกงานครบ1 ปีนะครับ การเลือกวิชาสอบ CPA นั้น ไม่ว่าจะเลือกสอบวิชาใดก่อน หรือหลัง แต่สุดท้ายก็ยังต้องสอบจนครบทุกวิชาอยู่ดี ดังนั้นหากผู้สอบมีความมุ่งมั่นที่จะสอบเป็นผู้สอบบัญชีรับอนุญาตให้ได้ มีความตั้งใจ และความพยายาม ในการพัฒนาความรู้ตลอดเวลา ก็จะสามารถประสบความสำเร็จได้แน่นอน ความลับของกฎแห่งแรงดึงดูด(The Secret) กับการสอบ CPA 1. ต้องชัดเจนว่าอยากได้ CPA (คือถ้าเป้าหมายเราชัดเจน ผมว่าโอกาสได้ CPA เกิน 50% แล้ว) "ข้อ1 เรียกว่า 2. ต้องเชื่อว่าเราจะได้ CPA (เพราะถ้าไม่เชื่อ คุณจะไม่ Focus ที่เป้าหมายแต่ คุณจะไป Focus กับปัญหาและเหตุผลต่างๆ ที่ทำให้คุณสอบไม่ได้) 3. ต้องลงมือทำตามทาง สู่การเป็น CPA (ถ้าคุณมีข้อ 1 และข้อ 2 และหนทางสู่การเป็น CPA จะมาเอง ผมเรียกว่าการรับ คือการเตรียมตัวหรือทำตัวให้สมกับ CPA) "ข้อ3 การรับ(Receive)" ส่วนตัวผมคิดว่าข้อ 3 นั้นยากสุดเพราะมันเป็นความรู้สึกระดับที่ว่าเรามีสิ่งนั้นอยู่แล้วเช่น ถ้าคุณมี CPA แล้วความรู้สึกอยากได้ CPA คุณจะเป็นแบบไหนลองจินตนาการดูครับ
อ้างอิงจาก The secret ของกระบวนการสร้างสรรค์ (Creative Process) 3 ขั้นตอนคือ 1. การร้องขอ (Ask) 2. ความเชื่อ(Believe) และ 3. การรับ(Receive)
BY : AMTaudit www.amtaudit.com บทความแนะนำ เป็นผู้ทำบัญชี ต้องดำเนินการอย่างไร : https://www.amtaudit.com/view_news.php?id=86 รับตรวจสอบบัญชี2018 : https://www.amtaudit.com/view_news.php?id=345 ผู้ประกอบการรู้กฎหมายภาษี : ผู้ประกอบการรู้กฎหมายภาษี โดยทีมงาน AMTaudit & AMTsolution บริการรับตรวจสอบบัญชี และ บริการตรวจสอบภายใน (Audit & Assurance Services)
Office : 02-184-1846 and 02-309-3550 |
|||