|
|||
มาตรฐานทางวิชาชีพ ของผู้สอบบัญชี นับว่ามีความสำคัญอย่างยิ่งสำหรับผู้สอบบัญชีอนุญาตในปัจจุบัน โดยเฉพาะ ความเป็นอิสระในการตรวจทานตรวจสอบข้อมูลบัญชีของลูกค้าเพื่อให้ได้ข้อมูลการทำบัญชีที่ถูกต้อง ความเที่ยงธรรม ความอิสระในการตรวจสอบบัญชี และที่สำคัญคือความซื่อสัตย์สุจริตของผู้ตรวจสอบเอง การปฏิบัติตามมาตรฐานทางวิชาชีพ ของผู้สอบบัญชี จึงเป็นเรื่องที่สำคัญมากที่จะช่วยตรวจสอบและสนับสนุนให้บริษัทต่าง ๆที่มาตรวจบัญชีเพื่อรับสิทธิจากกฎหมายที่ออกมาเพื่อสนับสนุนให้ห้างร้านต่าง ๆได้จัดทำบัญชีให้ตรงกับสภาพที่แท้จริงของกิจการนั้น ๆ ผู้สอบบัญชีอนุญาต จึงมีส่วนสำคัญอย่างยิ่งที่จะช่วยผลักดันให้เกิดความถูกต้อง และ ลูกค้าได้รับประโยชน์อย่างเต็มที่จากการจัดทำบัญชีที่ถูกต้อง การปฏิบัติตามมาตรฐานทางวิชาชีพ ของผู้สอบบัญชี จึงมีความสำคัญไม่น้อยทีเดียว เพราะผู้สอบบัญชีอนุญาต มีหน้าที่หลักโดยตรง คือการช่วยตรวจสอบบัญชีของลูกค้าให้มีความถูกต้องชัดเจน โดยเฉพาะในปีนี้ที่รัฐบาลออกกฎหมายมาเพื่อสนับสนุนให้ทุกบริษัทฯ มีระบบบัญชีที่ถูกต้อง จึงได้มีการผลักดันระบบการทำบัญชีชุดเดียวที่เน้นให้ทุกกิจการมีระบบบัญชีที่ถูกต้องและตรวจสอบได้ง่ายซึ่งจะเป็นผลดีกับทั้ง เจ้าของกิจการ ภาครัฐ และผู้สอบบัญชีเอง ผู้สอบบัญชีจึงเป็นกลไกสำคัญที่จะทำทุกอย่างให้ได้ตามมาตรฐานทางวิชาชีพ การดำเนินการทุกอย่างในการตรวจสอบบัญชีของลูกค้าจึงต้องโปร่งใส และตรวจสอบได้ โดยเฉพาะในปีนี้ ซึ่งสภาวิชาชีพบัญชี มีความกังวลใจในการทำหน้าที่ของผู้ตรวจสอบบัญชีทั้งหลายเนื่องจากนโยบายรัฐที่สนับสนุนให้ทุกกิจการต้องจัดทำบัญชีให้โปร่งใสเพื่อรับผลประโยชน์ที่รัฐจะมอบให้ หลายธุรกิจจึงอาจมีการปกปิดข้อมูลได้ ซึ่งการทำงานของผู้สอบบัญชีอนุญาต อาจจะติดขัดในการทำงานหากไม่ยึดการปฏิบัติตามมาตรฐานทางวิชาชีพ ของผู้สอบบัญชีเป็นที่ตั้ง ในปัจจุบันสภาวิชาชีพบัญชี จึงมีการตรวจสอบขั้นตอนการทำงานของผู้สอบบัญชีมากยิ่งขึ้นเพื่อให้ตรงตามมาตรฐานของการทำบัญชี เช่นเรื่องเกี่ยวกับการลงลายมือชื่อ โดยกำหนดเงื่อนไขไว้ดังนี้ 1.ก่อนลงลายมือชื่อตรวจสอบบัญชีของกิจการใด ผู้สอบบัญชีทุกรายต้องแจ้งทุกรายชื่อแก่สภาวิชาชีพบัญชี เพื่อรับทราบ 2.ผู้สอบบัญชีทุกรายต้องมีการจัดทำกระดาษทำการ และต้องปฎิบัติงานตรวจสอบตามหัวข้อต่าง ๆ ให้ได้ตามการปฏิบัติตามมาตรฐานทางวิชาชีพ ของผู้สอบบัญชี เพื่อลดข้อผิดพลาดในการตรวจสอบ 3.สภาวิชาชีพบัญชี มีการเน้นย้ำเรื่องวันที่ ที่ลงในรายงานของผู้สอบบัญชี จะต้องไม่ลงวันที่ก่อนวันที่ ที่ผู้สอบบัญชีได้รับหลักฐานการสอบบัญชี 4.ในการลงลายมือในรายงานการตรวจสอบบัญชี ต้องมีการยืนยันการลงลายมือตามช่วงเวลาที่สภาวิชาชีพบัญชี กำหนด หากการปฏิบัติตามมาตรฐานทางวิชาชีพ ของผู้สอบบัญชี มีดำเนินการทุกอย่างถูกต้องรัดกุมแล้ว นอกจากจะส่งผลดีกับผู้ประกอบการแล้วยังส่งผลดีโดยตรงต่อผู้สอบบัญชีอนุญาตเองด้วย แต่หากการสอบบัญชีมีการตรวจสอบไม่ถูกต้อง สภาวิชาชีพก็อาจต้องมีการเรียกให้มาชี้แจงหรืออาจต้องทำหนังสือชี้แจงการตรวจสอบก็ได้หากเห็นว่าขัดกับมาตรฐานทางวิชาชีพ ของผู้สอบบัญชี ดังนั้น ผู้สอบบัญชีอนุญาต ควรมีการปฏิบัติให้ตรงตามมาตรฐานทางวิชาชีพ ของผู้สอบบัญชี เพื่อความถูกต้องและน่าเชื่อถือมากยิ่งขึ้น BY : AMTaudit บทความแนะนำ ตรวจสอบสิทธิ์ตามมาตรการบัญชีเล่มเดียว : https://www.amtaudit.com/view_news.php?id=42 บริการตรวจสอบบัญชีสหกรณ์ : https://www.amtaudit.com/view_news.php?id=47 รู้ไหม? ว่าทำไมบริษัทต้องจัดทำบัญชี : https://www.amtaudit.com/view_news.php?id=27 โดยทีมงาน AMTaudit & AMTsolution บริการรับตรวจสอบบัญชี และ บริการตรวจสอบภายใน (Audit & Assurance Services)
Office : 02-184-1846 and 02-309-3550 |
|||