|
|||
Q&A สภาวิชาชีพบัญชี การบันทึกบัญชีทั่วไป :
บริษัทมีทุนจดทะเบียน 50 ล้านบาท เรียกชำระเต็มมูลค่าแล้ว (500,000 หุ้น มูลค่าหุ้นละ 100 บาท) ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2558 บริษัทฯ มีผลขาดทุนสะสม 18,082,576.83 บาท ในวันที่ 11 พ.ย. 2559 บริษัทฯ จดทะเบียนลดทุนเพื่อล้างขาดทุนสะสม โดยลดจำนวนหุ้นลง ทุนจดทะเบียนหลังลดทุน คือ 30 ล้านบาท (300,000 หุ้น มูลค่าหุ้นละ 100 บาท) ลดทุนลง 20 ล้านบาท ซึ่งมากกว่าผลขาดทุนสะสมที่มีอยู่ คือ 18,082,576.83 บาท
บันทึกบัญชีโดย
เดบิท ทุน 20,000,000.00
เครดิต กำไร (ขาดทุน) สะสม 18,082,576.83
ส่วนเกินทุนจากการลดทุน 1,917,423.17
ในปี 2560 บริษัทฯ มีแผนลดโครงสร้างธุรกิจลง ทำให้ทุนมากเกินความจำเป็นและจะทำการลดทุนเพื่อจ่ายคืนผู้ถือหุ้น จะลดทุนจาก 30 ล้านบาท ลงเหลือ 20 ล้านบาท โดยลดจำนวนหุ้นเหมือนเดิม คำถามคือ บริษัทฯ จะบันทึกบัญชีโดยล้างบัญชี ส่วนเกินทุนจากการลดทุนทั้งจำนวนคงเหลือเท่าไร จึงจะจ่ายเงินสดคืนผู้ถือหุ้น
บันทึกบัญชีโดย ถูกต้องหรือไม่ค่ะ
เดบิท ทุน 10,000,000.00
ส่วนเกินทุนจากการลดทุน 1,917,423.17
เครดิต เงินสด 11,917,423.17
ถ้าไม่สามารถล้างบัญชีส่วนเกินทุนจากการลดทุนได้ บัญชีดังกล่าวจะถูกล้างบัญชีตอนไหนค่ะ
(คำถามเดือนพฤศจิกายน 2559)
A:
เนื่องจากประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ฉบับที่ 8/2550 เรื่อง การบันทึกบัญชีเพื่อชดเชยผลขาดทุนสะสมของบริษัทมหาชนจำกัด เป็นการลงบัญชีของบริษัทมหาชนจำกัด ดังนั้น การลงบัญชีเพื่อล้างผลขาดทุนสะสม ต้องมีการสอบถามเนื้อหาข้อกำหนดของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ก่อนว่าบริษัทจำกัดสามารถทำได้หรือไม่ ซึ่งหากบริษัทจำกัดสามารถทำได้ ทางบริษัทควรสอบถามทางผู้ทำบัญชีและผู้สอบบัญชีของท่านเพื่อให้ลงบัญชีตามเนื้อหาของกฎหมายที่อนุญาตให้ล้างขาดทุนสะสม เนื่องจากผู้ทำบัญชีและผู้สอบบัญชีเป็นผู้ที่ต้องทำความเข้าใจในเนื้อหารายการของบริษัท
ข้อมูลสภาวิชาชีพบัญชี ทีมงาน AMTaudit (Audit & Assurance Services) Office: 02-309-3550 and 02-184-1846 |
|||