บริการด้านวางระบบ
และตรวจสอบภายใน

เริ่มต้น 5,000 บาท
รายละเอียดเพิ่มเติม...

image01

บริการด้าน
รับทำบัญชี – ยื่นภาษี

เริ่มต้น 1,500 บาท
รายละเอียดเพิ่มเติม...

image01

บริการด้าน
ตรวจสอบบัญชี

เริ่มต้น 4,500 บาท
รายละเอียดเพิ่มเติม...

image01

บัญชีนิติบุคคลอาคารชุด

 
 

 Q&A สภาวิชาชีพบัญชี

การบันทึกบัญชีทั่วไป :

เนื่องด้วย นิติบุคคลอาคารชุดฯ เป็นนิติบุคคลฯ ตาม พรบ.อาคารชุดฯ และไม่เป็นองค์กร ตามมาตรา 39 แห่งประมวลรัษฎากร จึงไม่มีหน้าที่ต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลตามมาตรา 65 และ 66 แห่งประมวลรัษฎากร นั้น

          โครงการฯ ได้ดำเนินการจดทะเบียนนิติบุคคลอาคารชุด กับสำนักงานที่ดิน จังหวัดเชียงใหม่ เมื่อวันที่ 10มิถุนายน 2558 โดยค่าใช้จ่ายในการดำเนินการเป็นภาระของเจ้าของโครงการ หลังจากนั้นนิติบุคคลอาคารชุดฯ ไม่มีทั้งรายรับและรายจ่ายใด ๆ อันเกี่ยวเนื่องกับนิติบุคคลอาคารชุดฯ ซึ่งโครงการเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมด  จนถึงวันที่  19 สิงหาคม 2558  นิติบุคคลอาคารชุดฯ ได้ดำเนินการเปิดบัญชีของนิติบุคคลอาคารชุดฯ เพื่อเป็นการเก็บรักษาเงิน และเบิกจ่ายเงิน ค่าส่วนกลาง และค่ากองทุน ตาม มาตรา 18 แห่ง พรบ.อาคารชุดฯ เพื่อใช้ในการบริหารจัดการฯ

          ภายหลัง นิติบุคคลฯ ได้มีการจัดประชุมใหญ่สามัญเจ้าของร่วมฯ ขึ้น และได้แถลงในที่ประชุมใหญ่ว่า เนื่องจากนิติบุคคลอาคารชุดฯ ได้เริ่มเปิดบัญชีและเบิกจ่ายตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2558 เป็นต้นมา จึงให้ถือว่า รอบปีบัญชีของนิติบุคคลอาคารชุดฯ เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม 2558 – 31 กรกฎาคม 2559

          เมื่อครบรอบปีบัญชีที่ได้แถลงไว้ในที่ประชุมใหญ่ฯ นิติบุคคลฯ จึงดำเนินการส่งเอกสารเพื่อให้ผู้ตรวจสอบบัญชีดำเนินการต่อไป แต่ผู้ตรวจสอบบัญชีได้แจ้งไว้ว่า จะยึดรอบทางปีบัญชีจาก หนังสือจดทะเบียนนิติบุคคลอาคารชุด เมื่อวันที่ 10 มิถุนายน 2558 เป็นวันเริ่มนับรอบปีทางบัญชี จึงไม่สามารถดำเนินการตรวจสอบบัญชีที่เกินกว่า 12 รอบเดือนได้  
          จึงเรียนสอบถามท่าน (ฝ่ายมาตรฐานการบัญชี สภาวิชาชีพบัญชีฯ) ในประเด็นดังต่อไปนี้

1.         นิติบุคคลอาคารชุดฯ สามารถให้นับรอบปีบัญชีตามคำแถลงในที่ประชุมใหญ่สามัญเจ้าของร่วมฯ ตั้งแต่วันที่ 1สิงหาคม 2558 – 31 กรกฎาคม 2559 ได้หรือไม่

2.         หากประเด็นในข้อที่ กระทำได้ ผู้ตรวจสอบบัญชี นั้น จะต้องดำเนินเซ็นงบดุลตามรอบปีบัญชีที่ได้แถลงไว้ในที่ประชุมใหญ่ ใช่หรือไม่

3.         หากประเด็นในข้อที่ และ 2 กระทำได้ ผู้ตรวจสอบบัญชี สามารถระบุในหมายเหตุของงบดุลได้หรือไม่ว่า “นับตั้งแต่วันจดทะเบียนนิติบุคคลอาคารชุดฯ เมื่อวันที่ 10 มิถุนายน 2558 ไปจนถึงวันที่ 31 กรกฎาคม 2558 นั้น มิได้มีรายรับ-รายจ่าย อันเกี่ยวเนื่องกับนิติบุคคลอาคารชุดฯ และให้เริ่มนับรอบปีทางบัญชี ตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม 2558 – 31 กรกฎาคม 2559 ตามคำแถลงในที่ประชุมใหญ่สามัญเจ้าของร่วม (ครั้งแรก) ปี 2558”

4.         หากประเด็นในข้อที่ 1 กระทำมิได้ จึงเรียนสอบถามว่า นิติบุคคลอาคารชุดฯ จะต้องดำเนินการเปลี่ยนแปลงรอบปีบัญชีของนิติบุคคลอาคารชุดฯ ตามผู้ตรวจสอบบัญชี อันขัดต่อคำแถลงในที่ประชุมใหญ่สามัญเจ้าของร่วม (ครั้งแรก) ใช่หรือไม่

5.         หากประเด็นในข้อที่ 4 กระทำได้ คือ การเปลี่ยนรอบปีบัญชีตามที่ผู้ตรวจสอบบัญชีได้กล่าวมา หลังจากนั้นนิติบุคคลอาคารชุดฯ ได้แถลงในที่ประชุมใหญ่ครั้งหน้า แล้วเจ้าของร่วมส่วนใหญ่ให้ดำรงรอบปีบัญชีเดิม เพื่อสะดวกต่อการจัดเก็บค่าส่วนกลาง ค่ากองทุน ตามมาตรา 18 พรบ.อาคารชุด นั้นฯ นิติบุคคลฯ ควรดำเนินการยึดถือหลักการใดในการดำเนินการต่อไป

จึงเรียนมาเพื่อขอสอบถามและโปรดชี้แนะแนวทาง จักขอบคุณยิ่ง

(คำถามเดือนกันยายน 2559)

A:

ขออนุญาตตอบคำถามท่านทีละข้อดังนี้

1.         นิติบุคคลอาคารชุดฯ สามารถให้นับรอบปีบัญชีตามคำแถลงในที่ประชุมใหญ่สามัญเจ้าของร่วมฯ ตั้งแต่วันที่ 1สิงหาคม 2558 – 31 กรกฎาคม 2559 ได้หรือไม่

พรบ.อาคารชุด ฉบับที่  4 พ.ศ.2551 กำหนดในมาตราที่ 23 ดังนี้

          มาตรา 23 ให้ เพิ่มความต่อไปนี้เป็นมาตรา 38/1 มาตรา 38/2 และมาตรา 38/3 แห่งพระราชบัญญัติอาคารชุด พ.ศ.2522 ว่า

          “มาตรา 38/1 ให้นิติบุคคลอาคารชุดจัดทำงบดุลอย่างน้อยหนึ่งครั้งทุกรอบสิบสองเดือน โดยให้ถือว่าเป็นรอบปีในทางบัญชีของนิติบุคคลอาคารชุดนั้น"

          ในพรบ.ฉบับดังกล่าวมิได้กำหนดให้งบการเงินของนิติบุคคลจัดทำตามปีปฏิทิน เพียงแต่กำหนดให้นิติบุคคลอาคารชุดจัดทำงบดุลอย่างน้อยหนึ่งครั้งทุกรอบปีบัญชีสิบสองเดือน โดยให้ถือว่าเป็นรอบปีในทางบัญชีของนิติบุคคลนั้น อย่างไรก็ตาม รอบปีบัญชีที่กำหนดต้องเป็นไปตามข้อบังคับของนิติบุคคลนั้น ๆ ดังนั้นอาจต้องพิจารณาในตัวข้อบังคับของนิติบุคคลว่าได้มีการระบุในเรื่องดังกล่าวอย่างชัดเจนหรือไม่

          ทั้งนี้ขอให้ท่านปรึกษาผู้สอบบัญชีหรือนักกฎหมายที่เกี่ยวข้องหรือหน่วยงานที่ออกกฎหมายพรบ. นิติบุคคลอาคารชุด ดังกล่าว เพื่อให้ได้คำตอบที่ชัดเจนขึ้น

2.         หากประเด็นในข้อที่ กระทำได้ ผู้ตรวจสอบบัญชี นั้น จะต้องดำเนินเซ็นงบดุลตามรอบปีบัญชีที่ได้แถลงไว้ในที่ประชุมใหญ่ ใช่หรือไม่

พรบ. นิติบุคคลอาคารชุด ฉบับที่ 4 พ.ศ. 2551 มาตรา 38/1 วรรค 2

งบดุลตามวรรคหนึ่งต้องมีรายการแสดงจำนวนสินทรัพย์และหนี้สินของนิติบุคคลอาคารชุด กับทั้งบัญชีรายรับรายจ่าย และต้องจัดให้มีผู้สอบบัญชีตรวจสอบ แล้วนำเสนอเพื่ออนุมัติในที่ประชุมใหญ่ โดยเจ้าของร่วมภายในหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันสิ้นปีทางบัญชี

ในพรบ. ดังกล่าวมิได้กำหนดให้งบการเงินของนิติบุคคลจัดทำตามปีปฏิทิน เพียงแต่กำหนดให้นิติบุคคลอาคารชุดจัดทำงบดุลอย่างน้อยหนึ่งครั้งทุกรอบปีบัญชีสิบสองเดือน โดยรอบปีบัญชีต้องเป็นไปตามข้อบังคับของนิติบุคคลนั้น และงบการเงินนั้นต้องมีการตรวจสอบโดยผู้สอบบัญชีแล้วนำเสนอเพื่ออนุมัติในที่ประชุมใหญ่ แต่ทั้งนี้พรบ. ดังกล่าวไม่อนุญาตให้รอบปีบัญชียาวนานเกินกว่า 12 เดือน

3.         หากประเด็นในข้อที่ และ 2 กระทำได้ ผู้ตรวจสอบบัญชี สามารถระบุในหมายเหตุของงบดุลได้หรือไม่ว่า “นับตั้งแต่วันจดทะเบียนนิติบุคคลอาคารชุดฯ เมื่อวันที่ 10 มิถุนายน 2558 ไปจนถึงวันที่ 31 กรกฎาคม 2558 นั้น มิได้มีรายรับ-รายจ่าย อันเกี่ยวเนื่องกับนิติบุคคลอาคารชุดฯ และให้เริ่มนับรอบปีทางบัญชี ตั้งแต่วันที่สิงหาคม 2558ถึง 31 กรกฎาคม 2559 ตามคำแถลงในที่ประชุมใหญ่สามัญเจ้าของร่วม (ครั้งแรก) ปี 2558”

          ในกรณีดังกล่าว หากต้องการปิดรอบปีบัญชีเป็นวันที่ สิงหาคม - 31 กรกฎาคมของทุกปี ตาม พรบ. นิติบุคคลอาคารชุด ฉบับที่ 4 พ.ศ. 2551 มาตรา 36 กำหนดหน้าที่ของผู้จัดการนิติบุคคลมีหน้าที่จัดให้มีการทำบัญชีรายรับรายจ่ายประจำเดือน และติดประกาศให้เจ้าของร่วมทราบภายใน 15 วันนับแต่วันสิ้นเดือน และต้องติดประกาศเป็นเวลาไม่น้อยกว่าสิบห้าวันต่อเนื่องกัน

          ดังนั้นนิติบุคคลต้องมีหน้าที่จัดให้มีการทำบัญชี นับตั้งแต่วันที่จดทะเบียนนิติบุคคล (10 มิถุนายน 2558) จนถึงวันที่ 31 กรกฎาคม 2558 เป็นรอบบัญชีแรก (ไม่เต็มปี) เพื่อให้รายการรับและจ่ายของรอบตั้งแต่วันที่ 10 มิถุนายน 2558 ได้รับการรับรองโดยที่ประชุมใหญ่ ทั้งนี้เนื่องจากพรบ.ฉบับดังกล่าวไม่อนุญาตให้รอบปีบัญชียาวนานกว่าสิบสองเดือน

          หลังจากนั้น จึงดำเนินการปิดรอบปีบัญชีเป็นวันที่ สิงหาคม - 31 กรกฎาคมของทุกปี ตามที่ข้อบังคับกำหนด หากนิติบุคคลไม่ได้จัดให้มีการจัดทำบัญชี ผู้ตรวจสอบบัญชีต้องปรึกษานักกฎหมายที่เกี่ยวข้องว่านิติบุคคลดังกล่าวปฏิบัติไม่เป็นไปตามพรบ. นิติบุคคลอาคารชุดหรือไม่ หากนักกฎหมายพิจารณาแล้วว่านิติบุคคลอาคารชุดปฏิบัติไม่เป็นไปตามกฎหมาย ผู้ตรวจสอบบัญชีต้องพิจารณาตามข้อกำหนดของมาตรฐานการสอบบัญชี รหัส 250  เพื่อพิจารณาว่าประเด็นดังกล่าวมีผลกระทบต่อการแสดงความเห็นในรายงานสอบบัญชีหรือไม่

4.         หากประเด็นในข้อที่ กระทำมิได้ จึงเรียนสอบถามว่า นิติบุคคลอาคารชุดฯ จะต้องดำเนินการเปลี่ยนแปลงรอบปีบัญชีของนิติบุคคลอาคารชุดฯ ตามผู้ตรวจสอบบัญชี อันขัดต่อคำแถลงในที่ประชุมใหญ่สามัญเจ้าของร่วม (ครั้งแรก) ใช่หรือไม่ หากประเด็นข้อ 1 ไม่ขัดต่อพรบ. นิติบุคคลอาคารชุด แล้ว นิติบุคคลอาคารชุดนั้นไม่ต้องดำเนินการเปลี่ยนแปลงรอบบัญชี เพียงแต่นิติบุคคลอาคารชุดต้องมีหน้าที่จัดให้มีการจัดทำบัญชีนับตั้งแต่วันจดทะเบียนนิติบุคคลอาคารชุด ซึ่งผู้สอบบัญชีต้องประเมินว่านิติบุคคลอาคารชุดดังกล่าวปฏิบัติตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องหรือไม่ ตามมาตราที่เกี่ยวข้องกับการจัดทำบัญชีของนิติบุคคลอาคารชุด โดยสามารถขอคำปรึกษาจากนักกฎหมายที่เกี่ยวข้อง

5.         หากประเด็นในข้อที่ 4 กระทำได้ คือ การเปลี่ยนรอบปีบัญชีตามที่ผู้ตรวจสอบบัญชีได้กล่าวมา หลังจากนั้นนิติบุคคลอาคารชุดฯ ได้แถลงในที่ประชุมใหญ่ครั้งหน้า แล้วเจ้าของร่วมส่วนใหญ่ให้ดำรงรอบปีบัญชีเดิม เพื่อสะดวกต่อการจัดเก็บค่าส่วนกลาง ค่ากองทุน ตามมาตรา 18 พรบ.อาคารชุด นั้นฯ นิติบุคคลฯ ควรดำเนินการยึดถือหลักการใดในการดำเนินการต่อไป หากการกำหนดรอบปีบัญชีขึ้นอยู่กับข้อบังคับของนิติบุคคลอาคารชุด และการประชุมใหญ่ของนิติบุคคลอาคารชุด ดังนั้นนิติบุคคลต้องยึดถือหลักการใน พรบ. นิติบุคคลอาคารชุด ซึ่งเป็นกฎหมายที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับนิติบุคคลอาคารชุดดังกล่าว

ทั้งนี้ขอให้ท่านปรึกษาผู้สอบบัญชีของนิติบุคคลท่านอีกครั้งและนักกฎหมายที่เกี่ยวข้องเนื่องจากเป็นผู้ที่มีความรู้ความเข้าใจในธุรกิจของท่าน และมีข้อมูลที่ครบถ้วนมากกว่า

ข้อมูลสภาวิชาชีพบัญชี

ทีมงาน AMTaudit 
บริการรับตรวจสอบบัญชี และบริการรับตรวจสอบภายใน

(Audit & Assurance Services)
ข้อมูลบริษัทฯ https://www.amtaudit.com

Office: 02-309-3550 and 02-184-1846
fax: 02-115-1486 
ID Line: @amtaudit