บริการด้านวางระบบ
และตรวจสอบภายใน

เริ่มต้น 5,000 บาท
รายละเอียดเพิ่มเติม...

image01

บริการด้าน
รับทำบัญชี – ยื่นภาษี

เริ่มต้น 1,500 บาท
รายละเอียดเพิ่มเติม...

image01

บริการด้าน
ตรวจสอบบัญชี

เริ่มต้น 4,500 บาท
รายละเอียดเพิ่มเติม...

image01

สินทรัพย์ไม่มีตัวตน : ต้นทุนในการพัฒนา Software

 
 

 Q&A สภาวิชาชีพบัญชี

สินทรัพย์ไม่มีตัวตน :

บริษัทเป็นเจ้าของ Software ที่พัฒนาขึ้นมา และ ในอนาคตไม่สามารถคาดการณ์ได้ว่าจะขายได้กี่ License อยากทราบว่า ต้นทุนในการพัฒนา Software ตัวนี้ ควรจัดประเภทรายการไว้เป็นอะไร และ จะต้องตัดจ่ายเป็นค่าใช้จ่ายประเภทไหน และ ตัดจ่ายอย่างไร

(คำถามเดือนเมษายน 2559)

A:

ในกรณีที่ Software นั้นได้รับการพัฒนาขึ้นเพื่อใช้ในการดำเนินงานของกิจการ ซึ่งให้ประโยชน์เชิงเศรษฐกิจแก่กิจการได้ในอนาคต กิจการจะรับรู้รายจ่ายที่เกิดจากการพัฒนาหรือเกิดในขั้นตอนการพัฒนาของ Software ดังกล่าวเป็นสินทรัพย์ไม่มีตัวตนได้นั้น หากกิจการใช้มาตรฐานการรายงานทางการเงินสำหรับกิจการที่ไม่มีส่วนได้เสียสาธารณะ (TFRS for NPAEs) กิจการต้องพิจารณาข้อกำหนดทุกข้อใน TFRS for NPAEs ย่อหน้าที่ 170 ดังนี้

·         มีความเป็นไปได้ทางเทคนิคที่กิจการจะทำสินทรัพย์ไม่มีตัวตนให้เสร็จสมบูรณ์เพื่อนำมาใช้ประโยชน์หรือขายได้

·         กิจการมีความตั้งใจที่จะทำสินทรัพย์ไม่มีตัวตนให้เสร็จสมบูรณ์และนำมาใช้ประโยชน์หรือขาย

·         กิจการมีความสามารถที่จะนำสินทรัพย์ไม่มีตัวตนนั้นมาใช้ประโยชน์หรือขาย

·         กิจการสามารถแสดงให้เห็นถึงวิธีที่สินทรัพย์ไม่มีตัวตนจะก่อให้เกิดประโยชน์เชิงเศรษฐกิจในอนาคต เหนืออื่นใดกิจการต้องสามารถแสดงให้เห็นว่าสินทรัพย์ไม่มีตัวตนหรือสิ่งที่จะเกิดจากสินทรัพย์ไม่มีตัวตนนั้นมีตลาดรองรับอยู่จริง หรือหากกิจการนำสินทรัพย์ไม่มีตัวตนไปใช้เป็นการภายใน กิจการต้องสามารถแสดงให้เห็นถึงประโยชน์ที่จะได้รับจากสินทรัพย์ไม่มีตัวตนนั้น

·         กิจการมีความสามารถในการจัดหาทรัพยากรด้านเทคนิค ด้านการเงิน และด้านอื่นได้เพียงพอที่จะนำมาใช้เพื่อทำให้การพัฒนาเสร็จสิ้นสมบูรณ์ และนำสินทรัพย์ไม่มีตัวตน มาใช้ประโยชน์หรือนำมาขายได้

·         กิจการมีความสามารถที่จะวัดมูลค่าของรายจ่ายที่เกี่ยวข้องกับสินทรัพย์ไม่มีตัวตนที่เกิดขึ้นในระหว่างการพัฒนาได้อย่างน่าเชื่อถือ

·         หากกิจการพิจารณาแล้วเข้าเกณฑ์เงื่อนไขทั้ง 6 ข้อดังกล่าวข้างต้น กิจการจึงสามารถรับรู้เป็นสินทรัพย์ไม่มีตัวตนได้ และให้กิจการตัดจำหน่ายตามย่อหน้าที่  186-188 คือตัดจำหน่ายตามรูปแบบการให้ประโยชน์ของสินทรัพย์ไม่มีตัวตน และตามอายุการให้ประโยชน์เชิงเศรษฐกิจ แต่หากไม่ทราบอายุการให้ประโยชน์ให้ตัดจำหน่ายเป็นเวลา 10 ปี

          อย่างไรก็ตาม หากกิจการใช้มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 38 (ปรับปรุง 2558) เรื่องสินทรัพย์ไม่มีตัวตน กิจการต้องถือปฏิบัติตามข้อกำหนดในการรับรู้รายการเป็นสินทรัพย์ไม่มีตัวตนในย่อหน้าที่ 57 โดยกิจการต้องรับรู้รายจ่ายที่เกิดจากการพัฒนา (หรือเกิดจากขั้นตอนการพัฒนาของโครงการภายใน) เป็นสินทรัพย์ไม่มีตัวตน เมื่อกิจการสามารถแสดงให้เห็นว่าเป็นไปตามข้อกำหนดทุกข้อ ดังนี้

·         มีความเป็นไปได้ทางเทคนิคที่จะทำให้สินทรัพย์ไม่มีตัวตนเสร็จสมบูรณ์เพื่อนำมาใช้งานหรือขาย

·         กิจการมีความตั้งใจที่จะทำให้สินทรัพย์ไม่มีตัวตนเสร็จสมบูรณ์และนำมาใช้งานหรือขาย

·         กิจการมีความสามารถที่จะนำสินทรัพย์ไม่มีตัวตนนั้นมาใช้งานหรือขาย

·         กิจการสามารถแสดงให้เห็นถึงวิธีการที่สินทรัพย์ไม่มีตัวตนจะก่อให้เกิดประโยชน์เชิงเศรษฐกิจในอนาคต นอกจากนี้ กิจการต้องสามารถแสดงให้เห็นว่าสินทรัพย์ไม่มีตัวตนหรือผลผลิตจากสินทรัพย์ไม่มีตัวตนนั้นมีตลาดรองรับ หรือหากกิจการนำสินทรัพย์ไม่มีตัวตนไปใช้งานเป็นการภายใน กิจการต้องสามารถแสดงให้เห็นถึงประโยชน์ที่จะได้รับจากสินทรัพย์ไม่มีตัวตนนั้น

·         กิจการมีทรัพยากรด้านเทคนิค ด้านการเงิน และด้านอื่นอย่างเพียงพอที่จะนำมาใช้ในการพัฒนาให้เสร็จสิ้นสมบูรณ์ และนำสินทรัพย์ไม่มีตัวตนมาใช้งานหรือขาย

·         กิจการมีความสามารถที่จะวัดมูลค่าของรายจ่ายที่เกี่ยวข้องกับสินทรัพย์ไม่มีตัวตน ที่เกิดขึ้นในระหว่างการพัฒนาได้อย่างน่าเชื่อถือ

          ย่อหน้าที่ 107 กำหนดว่าหากกิจการไม่ทราบอายุการให้ประโยชน์ที่แน่นอน กิจการต้องไม่ตัดจำหน่ายสินทรัพย์ไม่มีตัวตนดังกล่าว

          ย่อหน้าที่ 97 กำหนดว่าหากกิจการทราบอายุการให้ประโยชน์ของสินทรัพย์นั้น กิจการต้องปันส่วนจำนวนที่คิดค่าตัดจำหน่ายของสินทรัพย์นั้นตามอายุการให้ประโยชน์ของสินทรัพย์นั้น

          มาตรฐานการรายงานทางการเงินมิได้กำหนดว่าค่าใช้จ่ายตัดจ่ายดังกล่าว เป็นค่าใช้จ่ายประเภทใด อย่างไรก็ตามหากพิจารณาแล้ว ค่าใช้จ่ายที่ตัดจ่ายดังกล่าวควรรวมอยู่ในต้นทุนการดำเนินงานของกิจการ เนื่องจากสัมพันธ์กับการได้มาของรายได้ของกิจการ

          อย่างไรก็ตาม ขอให้ท่านปรึกษาผู้สอบบัญชีของกิจการท่าน ซึ่งเป็นผู้ที่มีความรู้ ความเข้าใจ และมีข้อมูลเกี่ยวกับกิจการที่มากกว่า เพื่อให้ได้รับคำตอบที่ถูกต้องยิ่งขึ้น

 

ข้อมูลสภาวิชาชีพบัญชี

ทีมงาน AMTaudit 
บริการรับตรวจสอบบัญชี และบริการรับตรวจสอบภายใน

(Audit & Assurance Services)
ข้อมูลบริษัทฯ https://www.amtaudit.com

Office: 02-309-3550 and 02-184-1846
fax: 02-115-1486 
ID Line: @amtaudit