|
|||
>>ข้อแนะนำในการวางแผนภาษีมรดก ในที่สุดร่าง พ.ร.บ.ภาษีมรดก ก็ได้ผ่านการพิจารณาจากสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) เรียบร้อยแล้ว และจะใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนด 180 วัน นับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา โดยผู้รับมรดกเป็นผู้ที่มีหน้าที่เสียภาษี ผู้ให้มรดกไม่เกี่ยวและไม่มีผลย้อนหลัง เรามาดูรายละเอียดกัน
1.ภาระภาษีเป็นอย่างไร
ถ้าเป็นภาษีมรดกผู้ได้รับมรดกจากเจ้ามรดกแต่ละราย ไม่ว่าจะได้รับมาในคราวเดียว หรือหลายคราว ถ้ามรดกที่ได้รับมาจากเจ้ามรดกแต่ละรายรวมกันมีมูลค่าเกิน 100 ล้านบาท ต้องเสียภาษีเฉพาะส่วนที่เกิน 100 ล้านบาท โดยในส่วนที่เกิน 100 ล้านบาทให้เสียภาษีร้อยละ 10 แต่ถ้าผู้ได้รับมรดกเป็นบุพการี หรือผู้สืบสันดาน ให้เสียภาษีในอัตราร้อยละ 5
ถ้าเป็นภาษีการรับให้ ถ้าเป็นพ่อ แม่ ให้ลูกเกิน 20 ล้านต่อปี ส่วนเกินเสียภาษีร้อยละ 5 แต่ถ้าให้คนอื่นตามประเพณี (เงินได้โดยเสน่หา) เกิน 10 ล้านบาทต่อปี ส่วนเกินเสียภาษี 5%
2. ทรัพย์มรดกแบบไหนต้องเสียภาษี
มรดก(ทรัพย์สิน) ที่ต้องเสียภาษี ต้องเป็นสิ่งของที่มีทะเบียน มีทั้งหมด 5 ประเภท คือ อสังหาริมทรัพย์, หลักทรัพย์ตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์, เงินฝาก หรือเงินอื่นใดที่มีลักษณะอย่างเดียวกันที่เจ้ามรดกมีสิทธิเรียกถอนคืนหรือสิทธิเรียกร้องจากสถาบันการเงินหรือบุคคลที่ได้รับเงินนั้นไว้, ยานพาหนะที่มีหลักฐานทางทะเบียน, ทรัพย์ทางการเงินที่กำหนดเพิ่มขึ้นโดยพระราชกฤษฎีกา
3. จะวางแผนภาษีมรดกอย่างไรดี
- ช่วง 180 วัน ก่อนกฎหมายใช้บังคับ เป็นช่วงโปรโมชั่น จะให้ทรัพย์สินแก่ทายาทเพื่อไม่ให้เป็นมรดก ก็รีบให้เลย แต่อย่าให้เกิน 20 ล้านบาทในแต่ละปี ไม่เช่นนั้น ถึงไม่ต้องเสียภาษีมรดก แต่กลับต้องเสียภาษีการรับให้แทน
- กระจายทรัพย์มรดกให้ทายาทแต่ละคนอย่าให้เกิน 100 ล้านบาท
- หากทรัพย์ที่เรามีอยู่เป็นทรัพย์จดทะเบียนที่อยู่ในข่ายต้องเสียภาษีมรดก ก็เปลี่ยนสภาพทรัพย์ของเราไม่ให้อยู่ในข่าย เช่น เปลี่ยนเงินฝากเป็นทองคำแท่ง เป็นต้น
- ซื้อประกันชีวิต ระบุชื่อทายาทที่เราอยากให้มรดกเป็นผู้รับผลประโยชน์ เพราะผลประโยชน์จากประกันชีวิตไม่ถือเป็นมรดก จึงไม่ต้องเสียภาษีมรดก ที่สำคัญ ไม่ต้องเสียภาษีใด ๆ เลย
4. อย่าหลบหลีกภาษีมรดก
เพราะนอกจากจะมีบทกำหนดโทษที่เป็นเบี้ยปรับและเงินเพิ่มสำหรับผู้ที่หลบหลีกภาษีแล้ว ยังมีโทษอาญา เช่น ผู้ใดไม่ยื่นแบบแสดงรายการภาษีต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 5 แสนบาท และผู้ใดทำลายย้ายไปเสีย ซ่อนเร้นทรัพย์สินมรดกไปให้ผู้อื่น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี และปรับไม่เกิน 4 แสนบาท ผู้ใดจงใจยื่นข้อความเท็จ หรือใช้กลอุบายพยายามฉ้อโกงหลีกเลี่ยงการเสียภาษี ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 2 แสนบาท
--------------------------------------------------------------
ขอเชิญเรียนรู้ข้อมูลพร้อมข้อแนะนำจากผู้รู้ พร้อมกับวางแผนและต่อยอดการลงทุนในรูปแบบต่าง ๆ ทั้งการลงทุนในกองทุนรวม, หุ้น, ตราสารหนี้ หรือตราสารอนุพันธ์ ผ่านหนังสือดี ๆ มากมายทั้งภาษาไทย และภาษาอังกฤษได้ที่ห้องสมุดมารวย ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
เปิดให้บริการทุกวันไม่เว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์ตั้งแต่วันที่ 08.30 – 21.00 น.
--------------------------------------------------------------
ภาพ : landactionthai.org
ที่มา : คอลัมน์ FINANCIAL FREEDOM TAXES นิตยสาร Money&Wealth ฉบับเดือนกรกฎาคม 2558
เรื่องโดย : สาธิต บวรสันติสุทธิ์
บทความแนะนำ มาตรฐานการบัญชีเกี่ยวกับการรับรู้รายได้ : https://www.amtaudit.com/view_news.php?id=83 ประเมินนักบัญชี : https://www.amtaudit.com/view_news.php?id=54 เปลี่ยนวิธีการชำระอากรแสตมป์ : https://www.amtaudit.com/view_news.php?id=51 โดยทีมงาน AMTaudit & AMTsolution บริการรับตรวจสอบบัญชี และ บริการตรวจสอบภายใน (Audit & Assurance Services) Office : 02-184-1846 and 02-309-3550
#maruey #Investment #TAXES #FinancialFreedom #maruey.com
ติดตามความรู้ที่น่าสนใจ กิจกรรม และหนังสือใหม่ของห้องสมุดคลิก
ww.maruey.com
|
|||