|
|||
Q&A สภาวิชาชีพบัญชี กำไร(ขาดทุน) เบ็ดเสร็จอื่น :
กิจการมีเงินลงทุนเผื่อขาย ณ วันที่ 30 กันยายน 2559 ราคาทุน 59.75 ล้านบาท มีค่าเผื่อการปรับมูลค่าเงินลงทุน 81.69ล้านบาท ในช่วงครึ่งปี วันที่ 1 ต.ค.59 ถึงวันที่ 31 มี.ค.60 ขายเงินลงทุนเผื่อขาย ต้นทุนขาย (ราคาทุน) 54.61 ล้านบาท โดยขายได้ราคา 167.24 บาท มีกำไร 112.63 ล้านบาท กิจการได้บันทึกกลับส่วนเกินจากการปรับมูลค่าเงินลงทุน(ส่วนที่ขาย) 83.62ล้านบาท ณ วันที่ 31 มีนาคม 2560 ได้รับรู้ส่วนเกินจากการปรับมูลค่าเพิ่ม 0.31 ล้านบาท และมียอดส่วนเกิน(ต่ำ)จากการปรับมูลค่าเงินลงทุนสุทธิ (1.62) ล้านบาท
งบแสดงฐานะการเงิน ณ วันที่ 31 มีนาคม 2560
เงินกองทุน 31มีนาคม 2560 30 กันยายน 2559
ส่วนเกิน(ต่ำ)จากการปรับมูลค่าเงินลงทุน (1.62) 81.69
ขาดทุนสะสม _______________ _______________
วิธีที่ 1 รับรู้สุทธิด้วยส่วนเกินส่วนต่ำจากการปรับมูลค่าในงวดนี้ จำนวน 0.31 ล้านบาท หักด้วยส่วนเกินส่วนต่ำของเงินลงทุนที่ขายในงวดนี้ 83.62 ล้านบาท
กำไร(ขาดทุน)เบ็ดเสร็จอื่น
รายการที่จัดประเภทรายการใหม่เข้าไปไว้ในกำไรหรือขาดทุนในภายหลัง
กำไร(ขาดทุน) จากการปรับมูลค่าเงินลงทุน (83.31)
_______________ _______________
วิธีที่ 2 รับรู้เฉพาะส่วนเกินส่วนต่ำจากการปรับมูลค่าในงวดนี้ไม่นำส่วนที่ขาย
กำไร(ขาดทุน)เบ็ดเสร็จอื่น
รายการที่จัดประเภทรายการใหม่เข้าไปไว้ในกำไรหรือขาดทุนในภายหลัง
กำไร(ขาดทุน) จากการปรับมูลค่าเงินลงทุน 0.31
_______________ _______________
วิธีที่ 3 รับรู้ด้วยยอดตามฐานะการเงินคงเหลือสุทธิ
กำไร(ขาดทุน)เบ็ดเสร็จอื่น
รายการที่จัดประเภทรายการใหม่เข้าไปไว้ในกำไรหรือขาดทุนในภายหลัง
กำไร(ขาดทุน) จากการปรับมูลค่าเงินลงทุน (1.62)
_______________ _______________
คำถาม
งบการเงินสำหรับงวดหกเดือนสิ้นสุดวันที่ 31 มี.ค. 2560 ในส่วนของงบกำไร(ขาดทุน) เบ็ดเสร็จอื่น รายการที่จัดประเภทรายการใหม่เข้าไปไว้ในรายการกำไรหรือขาดทุนในภายหลัง - กำไร(ขาดทุน) จากการปรับมูลค่าเงินลงทุน จะต้องแสดงด้วยวิธีใดจึงจะถูกต้อง
(คำถามเดือนมิถุนายน-กันยายน 2560)
A:
ย่อหน้าที่ 95 ของมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 1 (ปรับปรุง 2559) เรื่อง การนำเสนองบการเงิน ได้อธิบายว่า
"ตัวอย่างการปรับปรุงการจัดประเภทรายการใหม่ เช่น ... ที่เกิดจากการตัดบัญชีสินทรัพย์ทางการเงินเผื่อขาย (ดูมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 39 เรื่อง การรับรู้และการวัดมูลค่าเครื่องมือทางการเงิน (เมื่อมีการประกาศใช้)) และ ..." และย่อหน้าที่ 93 ระบุว่า มาตรฐานการรายงานทางการเงินอื่น ๆ เมื่อใดจำนวนที่เคยรับรู้ในกำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่นจะจัดประเภทใหม่เข้าไปไว้ในกำไรหรือขาดทุน และการจัดประเภทดังกล่าวจะทำได้หรือไม่ การจัดประเภทดังกล่าวได้ถูกอ้างอิงไว้ ในมาตรฐานการบัญชีฉบับนี้ว่าเป็นการปรับปรุงการจัดประเภทรายการใหม่ โดยการปรับปรุงการจัดประเภทรายการใหม่ รวมถึงองค์ประกอบของกำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่นในงวดที่เกี่ยวข้องซึ่งมีการจัดประเภทใหม่เข้าไปในกำไรหรือขาดทุน ตัวอย่างเช่น กำไรที่เกิดขึ้นจริงจากการขายสินทรัพย์ทางการเงินเผื่อขาย จะรวมไว้ในกำไรหรือขาดทุนในงวดปัจจุบัน ซึ่งจำนวนดังกล่าวอาจถูกรับรู้ในกำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่น เป็นกำไรที่ยังไม่เกิดขึ้นในงวดปัจจุบันหรืองวดก่อน โดยกำไรที่ยังไม่เกิดขึ้นนั้นต้องหักออกจากกำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่นในงวดที่กำไรที่เกิดขึ้นจริงถูกจัดประเภทใหม่เข้าไปในกำไรหรือขาดทุนเพื่อหลีกเลี่ยงการรวมรายการดังกล่าวซ้ำในกำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จรวม
ดังนั้น ในกรณีที่มีการตัดบัญชีเงินลงทุนในหลักทรัพย์เผื่อขาย จะต้องจัดประเภทรายการใหม่จากส่วนของกำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่น (OCI) ไปยังกำไรหรือขาดทุนปกติ (PL)
โดยกิจการต้องกลับรายการส่วนเกินทุนจากการตีมูลค่าเงินลงทุนในหลักทรัพย์เผื่อขายที่เคยบันทึกไว้ในกำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่นจำนวน 83.62 ล้านบาท และจัดประเภทใหม่ไปยังส่วนของกำไรหรือขาดทุนปกติ (PL) โดยอาจลงบันทึกรายการดังนี้
Dr. ส่วนเกินจากการปรับมูลค่าเงินลงทุนในหลักทรัพย์เผื่อขาย 83.62 ล้านบาท
(กำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่น-OCI)
Cr. กำไรจากการตัดบัญชีสินทรัพย์ทางการเงินเผื่อขาย 83.62 ล้านบาท
(กำไรหรือขาดทุน-PL)
และเมื่อมีการวัดมูลค่าเงินลงทุนในหลักทรัพย์เผื่อขายส่วนที่เหลืออยู่และมีส่วนเกินเพิ่มขึ้นจำนวน 0.31 ล้านบาท กิจการต้องรับรู้รายการโดย
Dr. เงินลงทุนในหลักทรัพย์เผื่อขาย 0.31 ล้านบาท
(งบแสดงฐานะการเงิน)
Cr. ส่วนเกินจากการปรับมูลค่าเงินลงทุนในหลักทรัพย์เผื่อขาย 0.31 ล้านบาท
(กำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่น-OCI)
ดังนั้น ในระหว่างงวดจะมียอดเคลื่อนไหวในบัญชีส่วนเกินจากการปรับมูลค่าเงินลงทุนในหลักทรัพย์เผื่อขาย (ที่รับรู้ในกำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่น - OCI) จำนวน 83.31 ล้านบาท ซึ่งเป็นไปตามวิธีที่ 1 ที่ท่านได้เสนอมาข้างต้น
ทั้งนี้ ขอให้ท่านปรึกษาผู้สอบบัญชีของกิจการ ซึ่งเป็นผู้ที่มีความรู้และความเข้าใจในกิจการที่มากกว่า เพื่อให้ได้รับคำตอบที่ถูกต้องและครบถ้วนยิ่งขึ้น
ข้อมูลสภาวิชาชีพบัญชี ทีมงาน AMTaudit (Audit & Assurance Services) Office: 02-309-3550 and 02-184-1846 |
|||