บริการด้านวางระบบ
และตรวจสอบภายใน

เริ่มต้น 5,000 บาท
รายละเอียดเพิ่มเติม...

image01

บริการด้าน
รับทำบัญชี – ยื่นภาษี

เริ่มต้น 1,500 บาท
รายละเอียดเพิ่มเติม...

image01

บริการด้าน
ตรวจสอบบัญชี

เริ่มต้น 4,500 บาท
รายละเอียดเพิ่มเติม...

image01

ผลประโยชน์ของพนักงาน : บริษัทเป็น NPAE ขนาดเล็ก

 
 

  Q&A สภาวิชาชีพบัญชี

ผลประโยชน์ของพนักงาน :

          บริษัทเป็น NPAE ค่ะ เล็ก ๆ ไม่ได้มีนโยบายที่จะให้เงินพนักงานเมื่อเกษียณแต่อย่างใด แต่ปีก่อนผู้สอบบัญชีคนเดิมได้คำนวณผลประโยชน์พนักงานและให้บันทึกเป็นหนี้สินไว้ ต่อมาปัจจุบันอยากจะทำการยกเลิก รบกวนสอบถามว่า ถ้าเดบิต หมวด 2 หนี้สินผลประโยชน์พนักงานออก แล้วจะต้อง เครดิต บัญชีอะไรคะ ถือเป็นรายได้หรือเปล่าคะ แล้วเอาออกตอนคำนวณภาษี

          และขออนุญาตสอบถามเพิ่มเติมว่า จากที่คุยปรึกษาทางโทรศัพท์ ท่านเจ้าหน้าที่สภาได้กล่าวถึงเงื่อนไข 3 ข้อ ถ้าเข้าเงื่อนไขต้องทำการบันทึกบัญชีผลประโยชน์พนักงานค่ะ อยากทราบว่าเงื่อนไขดังกล่าวมีอะไรบ้าง พอดีไปหาในgoogleแล้วไม่เจอค่ะ

(คำถามเดือนมีนาคม 2559)

A:

จากคำถามของท่านสมาชิก

          หากการปรับปรุงหนี้สินผลประโยชน์พนักงานออก เกิดขึ้นเนื่องจากการประมาณการใหม่  ให้ใช้วิธีปรับปรุงโดยการเปลี่ยนทันทีเป็นต้นไป (Prospective) ตามที่กล่าวในย่อหน้าที่ 62 ของมาตรฐานการรายงานทางการเงินสำหรับกิจการที่ไม่มีส่วนได้เสียสาธารณะ (TFRS for NPAEs) โดยปรับเข้างบกำไรขาดทุน (มาตรฐานมิได้ระบุว่าให้รับรู้เป็นรายได้หรือลดค่าใช้จ่าย ส่วนคำถามด้านภาษีว่าไม่ถือเป็นรายได้ทางภาษีหรือไม่นั้น รบกวนปรึกษาทางกรมสรรพากรครับ)

          หากการปรับปรุงดังกล่าวเป็นข้อผิดพลาดในอดีต ให้ใช้วิธีการปรับปรุงย้อนหลังตามที่กล่าวในย่อหน้าที่ 65 ของTFRS for NPAEs โดยการปรับปรุงรายการในอดีตให้ถูกต้อง ซึ่งหากเป็นรายการในอดีตที่เคยออกงบการเงินไปแล้ว ในทางปฏิบัติมักจะปรับปรุงกับกำไรสะสมของกิจการ

 สำหรับเงื่อนไข ข้อที่ทำให้ต้องบันทึกคือ

จากบทที่ 16 ของ  TFRS for NPAE เรื่อง ประมาณการหนี้สินและหนี้สินที่อาจเกิดขึ้น 

ย่อหน้าที่ 312 กำหนดว่าจะต้องรับรู้หนี้สินผลประโยชน์พนักงานตามหลักการรับรู้ในย่อหน้าที่ 304 คือ

          (1) กิจการมีภาระผูกพันในปัจจุบันที่จะต้องจ่าย ไม่ว่าจะเป็นตามกฎหมาย หรือที่เกิดจากการอนุมาน

เช่น มีข้อบังคับหรือนโยบายที่ประกาศออกไปว่ากิจการจะจ่ายค่าตอบแทนพนักงานเมื่อพนักงานปฏิบัติงานจนเกษียณอายุ หรือครบกำหนด 20 ปี (แล้วแต่กรณี) ดังนั้น ถือเป็นภาระผูกพันที่จะต้องจ่ายตามกฎที่ได้ประกาศออกไป

หรือหากไม่ได้มีกำหนดเป็นกฎที่ชัดเจน แต่ในอดีตที่ผ่านมาเป็นที่เข้าใจกันดีว่าเมื่อมีพนักงานลาออกเมื่ออายุเกิน 60 บริษัทมักจะให้สินน้ำใจตอบแทนเล็กน้อย ๆ ทำให้พนักงานเข้าใจได้ว่าบริษัทจะจ่ายชดเชยเมื่อเกษียณอายุ ดังนั้นถือได้ว่ามีภาระผูกพันที่เกิดขึ้นจากการอนุมานได้ว่าจะต้องจ่ายเมื่อมีการลาออกเมื่ออายุเกิน 60 เกิดขึ้น เป็นต้น

          (2) มีความเป็นไปได้ค่อนข้างแน่ที่กิจการจะต้องจ่ายชำระหนี้สินผลประโยชน์ของพนักงาน เช่น มีความเป็นไปได้ว่าพนักงานจะปฏิบัติงานจนมีสิทธิได้รับค่าตอบแทนตามที่กำหนดไว้ในข้อ 1 

          (3) กิจการสามารถประมาณจำนวนเงินที่ต้องจ่ายตามภาระผูกพันนั้นได้อย่างน่าเชื่อถือโดยใช้ประมาณการที่ดีที่สุดตามย่อหน้าที่ 310 และ 311 

          ทั้งนี้ขอให้ท่านปรึกษาผู้สอบบัญชีของท่านซึ่งเป็นผู้ที่มีความรู้ความเข้าใจในข้อมูลและธุรกิจของบริษัทดีกว่าและศึกษาเพิ่มเติมได้จากมาตรฐานการรายงานทางการเงินสำหรับกิจการที่ไม่มีส่วนได้เสียสาธารณะ http://www.fap.or.th/NPAEs.html  เพื่อให้ได้รับข้อมูลที่ถูกต้องมากยิ่งขึ้น

ข้อมูลสภาวิชาชีพบัญชี

ทีมงาน AMTaudit 
บริการรับตรวจสอบบัญชี และบริการรับตรวจสอบภายใน

(Audit & Assurance Services)
ข้อมูลบริษัทฯ https://www.amtaudit.com

Office: 02-309-3550 and 02-184-1846
fax: 02-115-1486 
ID Line: @amtaudit